Welcome Guest! To enable all features please try to register or login.
Post a reply
From:
Message:
Add Smiley

Loading...
Loading...


Maximum number of characters in each post is: 32767
Bold Italic Underline   Highlight Quote Choose Language for Syntax Highlighting Insert Image Create Link   Unordered List Ordered List   Left Justify Center Justify Right Justify   More BBCode Tags Check Spelling
Font Color: Font Size:
Security Image:
Enter The Letters From The Security Image:
  Preview Post Cancel

Last 10 Posts (In reverse order)
6ixty9ine Posted: Friday, September 7, 2018 3:30:09 PM(UTC)
 
https://www.home.co.th/Images/img_v/BuyHome/20180731-152729-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94.jpg

 อสังหาฯ ที่มีค่าใช้จ่ายจุกจิกที่สุดนี่ขอโหวตให้ "คอนโด" เลย เพราะมีตั้งเเต่เริ่มเข้าจนเข้าอยู่เเล้วก็ยังต้องจ่ายกันต่อไป อาจเป็นเพราะเป็นอสังหาฯ ขนาดใหญ่ที่คนมาอาศัยอยู่ร่วมกันก็ต้องมีค่าดูแลจัดการต่างๆ สรุปแล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่คนคิดจะซื้อคอนโดต้องเตรียมเงินในกระเป๋าไว้ มาดูกันเลย 

✤ เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเเละน้ำประปา
        เเต่ละคอนโดก็กำหนดราคาประกันมิเตอร์ทั้งไฟฟ้าเเละน้ำประปานั้นเเตกต่างกัน ยกตัวอย่าง มิเตอร์ไฟฟ้า : ขนาด 15 แอมแปร์ เก็บ 2,000 บาท ขนาด 30 แอมแปร์ เก็บ 4,000 บาท ประปา : 500 บาทต่อยูนิต ซึ่งทั้งสองอย่างจะจ่ายในวันโอนวันเดียวเลย

✤ เงินกองทุนห้องชุด
        เป็นเงินที่จะต้องจ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งจ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เเละจะจ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อย่างถ้าใครซื้อคอนโดมือสอง หรือซื้อต่อจากผู้อื่นมาอาจไม่ต้องจ่ายค่าส่วนนี้ก็ได้ สำหรับเงินกองทุนนี้ก็จะนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนในเรื่องต่างๆ ส่วนจะมีเรื่องอะไรบ้างติดตามได้ใน “เงินกองทุน” ของนิติบุคคลอาคารชุด เพิ่มเติมได้เลย 

✤ ค่าใช้จ่ายสวนกลาง
        ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอนโดที่ได้ยินบ่อยๆ น่าจะเป็นค่าส่วนกลาง ซึ่งเเต่ละคอนโดจะจัดเก็บค่าส่วนกลางไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นรายปี อาจมีบ้างบางคอนโดที่ยังจ่ายเป็นรายเดือนอยู่ ซึ่งค่าส่วนกลางที่เก็บไปก็จะไปจัดการเรื่องสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในโครงการ เเละเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดบังคับให้เจ้าของห้องต้องจ่ายทุกคน

✤ ค่ารักษามาตรวัดน้ำ
        เป็นการเก็บไว้สำหรับซ่อมเเซมระบบน้ำต่างๆ ภายในคอนโด ซึ่งเเต่ละโครงการมีอัตราเเตกต่างกันไป เช่น คิดค่ารักษามาตรวัดน้ำ 25 บาท/มิเตอร์ อาจจัดเก็บล่วงหน้า 12 เดือน

✤ ค่าน้ำประปา
        สำหรับค่าน้ำนั้นจะเเตกต่างกับค่าไฟ เพราะน้ำที่นำมาใช้ในเเต่ละห้องนั้นไม่ได้มาจากการประปาโดยตรงเหมือนค่าไฟ หลังจากที่ประปาจ่ายน้ำเข้าคอนโดก็จะนำไปเก็บไว้ที่ถังพักแล้วค่อยจ่ายมาตามห้องต่างๆ ดังนั้นใบเสร็จค่าน้ำก็จะมาจากคอนโดเเทนที่จะมาจากกการประปา

✤ ค่าไฟฟ้า
        สำหรับค่าไฟคอนโดนั้นก็จ่ายตามจำนวนที่เราใช้ไป คิดตามอัตราการใช้ไฟบ้านทั่วไป คอนโดจะติดตั้งมิเตอร์ไฟเเยกห้องของใครของมัน ส่วนใบเสร็จค่าไฟต่างๆ ก็จะออกจากการไฟฟ้าโดยตรง 

✤ ค่าเบี้ยประกันภัยอาคารชุด
        ขึ้นอยู่กับลักษณะอาคาร เวลาชำระเงินมักชำระเป็นรายปี หรือแล้วเเต่คอนโดเป็นผู้กำหนด ส่วนใหญ่ถ้ากู้สินเชื่อจากธนาคาร ธนาคารก็มักจะให้ทำประกันเหล่านี้ไปด้วย 

✤ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดกรณีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
        ถ้าหากมีการขอสินเชื่อก็จะมีค่าใช้จ่ายกับธนาคาร อย่างค่าดำเนินการในการขอสินเชื่อ ค่าประเมินสินทรัพย์ เป็นต้น

✤ ค่าจดจำนองห้องชุด
        คิด 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด) ส่วนนี้ผู้ซื้อเป็นคนจ่าย

✤ ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
        คิด 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย ราคาไหนสูงกว่าก็ใช้ราคานั้นคิด โดยผู้ซื้อและผู้ขายรับภาระฝ่ายละครึ่ง

✤ ค่าบำรุงใช้สิทธิที่จอดรถ
        คอนโดส่วนใหญ่มักมีที่จอดรถไม่เพียงพอกับจำนวนห้องในโครงการ บางโครงการอาจมีมาตรการชำระค่าที่จอดรถรายเดือนสำหรับใครที่มีรถ หรือบางโครงการอาจคิดค่าที่จอดรถเพิ่มถ้าห้องหนึ่งมีรถมากกว่า 1 คันขึ้นไป

✤ ค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนรายละเอียดสัญญาจองซื้อ
        คิด 2% จากราคาซื้อขายห้อง โดยจะชำระก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนสัญญา

Powered by YAF | YAF © 2003-2024, Yet Another Forum.NET
This page was generated in 0.217 seconds.
ประกาศตามแนวรถไฟฟ้า
BTS รถไฟฟ้า BTS
MRT รถไฟฟ้า MRT

อสังหาฯใกล้รถไฟฟ้าล่าสุด

ประกาศยอดฮิต