Welcome Guest! To enable all features please try to register or login.
Post Reply

loVeLyAnGel
Posted : Tuesday, June 5, 2012 9:25:38 AM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
คุณแม่ซื้อคอนโดทิ้งไว้สิบกว่าปีแล้วค่ะ ไม่เคยไปดูแล หรือจ่ายค่าส่วนกลางเลยค่ะ เผอิญคุณแม่เจออายัติไว้ และเมื่อปีที่แล้วมีหนังสือจากธนาคารส่งมาที่บ้าน ว่ายกเลิกอายัติแล้ว

เผอิญเพิ่งกลับจากต่างประเทศ และเพิ่งทราบเรื่อง อยากทราบว่า ผลตอนนี้จะเป็นอย่างไรบ้างค่ะ เรายังเป็นเจ้าของอยู่หรือเปล่า เพราะใบโฉนด(ไม่แน่ใจว่าเรียกแบบนี้หรือเปล่า)ก็ยังอยู่ค่ะ

แวะมาเฉยๆ
ความเห็นที่ 1 Posted : Tuesday, June 5, 2012 10:51:15 AM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
ต้องไปสอบถามทางธนาคารดูน่ะครับ

เกี่ยวกับโฉนด ที่อยู่ธนาคาร หรือว่าซื้อหมดมีโฉนดจริงแล้ว

ก็ต้องไปถามส่วนกลางทางคอนโดน่ะครับ ว่าต้องจ่ายย้อนหลังอะไรยังไงบ้าง

แต่ทางคอนโดไม่สามารถจะยึดหรือขายต่อได้เพราะโฉนดอยู่ที่เรา กับที่กรมที่ดิน


korpphaibun
ความเห็นที่ 2 Posted : Tuesday, June 5, 2012 12:41:08 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
อาจจะจ่ายค่าส่วนกลางย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยราคาพอๆๆหรือมากกว่าราคาห้องก็ได้ลองติดต่อส่วนกลางดู


ป้าแมงฯ
ความเห็นที่ 3 Posted : Tuesday, June 5, 2012 3:14:51 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
คอนโดค่าส่วนกลางสูงมากกก


เปรมอุรา
ความเห็นที่ 4 Posted : Tuesday, June 5, 2012 3:39:45 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
มันเกี่ยวอะไรกับธนาคารด้วยเนี่ย
ถ้าโอนมาแล้ว มีโฉนดอยู่ในมือ ธนาคารก็ไม่เกี่ยวแล้ว
คอนโด เป็นของคุณแม่แน่นอน
แต่ที่แน่ๆ คือ ค่าส่วนกลางที่ค้างจ่าย บานฉ่ำ เลยครับ
สมมติเดือนละ 2,000
ปีนึงก็ 24,000
สิบปี ก็ 240,000
แล้วยังค่าปรับ ดอกเบี้ยปรับ ฯลฯ (ถ้ามี)
กรุณาติดต่อนิติบุคคลอาคารชุด สถานเดียวครับ
ลองเจรจาดู ขอความเมตตา หาเหตุผลไปชี้แจงสวยๆหน่อย
อาจได้ลดหย่อนลงบ้าง


หนุ่มเมืองเพ็ด
ความเห็นที่ 5 Posted : Tuesday, June 5, 2012 5:06:07 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
ยืนยันตาม คห.4

ลองเข้าไปต่อรองกับทางนิติดูก่อนครับ จาก 200,000 กว่า ขอต่อเค้าเหลือ 80,000 ดู .... อิอิ เผื่อฟลุ๊ค


หนึ่งจุดแดง
ความเห็นที่ 6 Posted : Tuesday, June 5, 2012 7:06:06 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
คุณ หมดสิทธิ์เป็นเจ้าของแล้วครับ

หนูยึดไปแล้ว

tveeroj
ความเห็นที่ 7 Posted : Tuesday, June 5, 2012 10:05:42 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
โฉนดก็ยังอยู่ ดังนั้นชื่อเจ้าของก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปได้

แต่สงสัยที่ว่า "ธนาคารอายัด"
อายัดอะไร ห้ามโอนขาย หรือห้ามอยู่อาศัย หรือห้ามอะไร
ธนาคารมีสิทธิอายัดตามสัญญา หรือตามกม.อะไร หรือตามคดีความฯ

ซึ่งถ้าการอายัดนั้นทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ได้
เราก็อาจใช้เหตุผลนี้ในการเจรจาขออลุ้มอล่วยเรื่องค่าส่วนกลาง


คนข้างใจ
ความเห็นที่ 8 Posted : Wednesday, June 6, 2012 2:06:50 AM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
เคยมีลูกค้าผมคนนึงเคสนี้เลย คอนโด..นาซิตี้ ย่านบางนา เกษียณอายุแล้วอยากจะ Renovate ทำ BOQ ให้เรียบร้อยพร้อมเข้าทำงาน เจอฝ่ายอาคารคอนโดเรียกพบเจ้าของ ให้จ่ายค่าส่วนกลางปีละ สองหมื่นบาทกว่าบาท x 10 ปี ยิ่งกว่านั้นสภาพห้องดูไม่ได้เลย ปาเก้หลุดร่อน กระจกมีแต่ขี้นก เชิงชาย ระแนงระเบียง ขี้นกทั้งนั้น ขี้ค้างคาว

สรุปเจรจากันไปมาก็จ่ายครึ่งนึง


manic คุง
ความเห็นที่ 9 Posted : Wednesday, June 6, 2012 3:29:51 AM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
ถ้ามีคนเข้าไปอาศัยอย่างเปิดเผยเป็นเวลาสิบปี คอนโดคุณก็เป็นของคนๆ นั้นเรียบร้อยแล้วครับ


not defendant
ความเห็นที่ 10 Posted : Wednesday, June 6, 2012 8:12:19 PM(UTC)
Quote
Guest

Rank: Guest

Posts: 39,895

Was thanked: 12 time(s) in 12 post(s)
คคห 9 ลองอ่านเรื่องนี้นะคะ


การครอบครองปรปักษ์ทรัพย์ของผู้อื่น


โดย มติชน วัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 02:03 น.
โดย กระบี่ข้างศาล
ทุกวันนี้ได้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เพราะคนไร้จริยธรรมมากขึ้น ทำผิดศีลธรรม ตามโลกาภิวัตน์ที่ไม่ดีของอนารยประเทศ ปัญหาเรื่องที่ดินของมูลนิธิพระพยอม วัดสวนแก้ว ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่นั้น ทุกอย่างเกิดแต่เหตุทั้งนั้น

การครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้กฎหมายจะมิได้บัญญัติว่าต้องมีความสุจริตก็ตาม แต่รูปการ พฤติการณ์ การกระทำ ประกอบแล้วผู้กระทำต้องสุจริตด้วย เพราะถ้าแย่งเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น ย่อมผิดศีลธรรม จริยธรรม

ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ก็อาจจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอก หรือฉ้อโกง

ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็อาจมีความผิดฐานบุกรุก ฉ้อโกง ฯลฯ ได้เช่นกัน จึงต้องปรับด้วยเรื่องทรัพย์สินอันได้มาโดยการกระทำความผิดตามมาตรา 1388 มิใช่มาตรา 1382 แต่เพียงอย่างเดียวหรือถ้าเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือให้ โดยผู้รับโอนรู้ว่าผู้โอนไม่มีอำนาจโอนให้ตน จะอ้างว่าตนครอบครองปรปักษ์ เพื่อใช้ยันเจ้าของผู้มิได้รู้เห็นมิได้ (ผู้เขียนขออ้างคำสอนของศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ ปรมาจารย์ทางกฎหมายซึ่งได้บรรยายในคำสอนวิชาทรัพย์ด้วย)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

จะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีคำว่าการครอบครองต้องครอบครองโดยสุจริต

แต่ถ้าตีความกฎหมายให้มีความเป็นธรรมโดยใช้หลักธรรมเป็นที่ตั้งแล้วนั้น ผู้ที่จะได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองต้องมีความสุจริตเป็นที่ตั้ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต

ผู้ที่จะมาใช้สิทธิในทางศาลต้องมาด้วยมือสะอาดนั้นก็หมายความว่า กรรมสิทธิ์ที่ได้มานั้นจะต้องได้มาจากความสุจริต มิใช่ได้มาโดยไม่ชอบ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่า กฎหมายสนับสนุนให้บุคคลทำผิดศีลธรรม ผิดจริยธรรม เที่ยวไปบุกรุก ฉ้อโกง ฯลฯ ผู้อื่น

ตัวอย่างเช่นนายแดง เห็นว่าที่ดินมีโฉนดของนายดำอยู่ใกล้บ้านของตน และนายดำไม่ได้มาดูแลระวังที่ดิน นายแดงจึงเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินของนายดำ โดยการปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัย ทำสวนผลไม้ และกระทำโดยเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของโดย นายดำไม่รู้หรือขัดขวางดังกล่าวจะถือว่านายแดงครอบครองที่ดินโดยสงบ

จนกระทั่งเวลาได้ล่วงเลยไป 10 กว่าปี นายแดงได้มายื่นคำร้องต่อศาลว่าตนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

ดังนี้จะเห็นว่าการยื่นคำร้องต่อศาลของนายแดงดังกล่าวนั้นขาดเจตนาสุจริต เพราะการครอบครองที่ดินนั้น นายแดงได้เจตนาบุกรุกที่ดินของนายดำซึ่งเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อนายแดงบุกรุกที่ดินของนายดำอันเป็นความผิดอาญา จึงต้องปรับเข้ากับเรื่องทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1383 ซึ่งบัญญัติว่า ทรัพย์สินอันได้มาโดยการกระทำความผิดนั้น ท่านว่าผู้กระทำผิด หรือผู้รับโอนไม่สุจริตจะได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดอายุความอาญา หรือพ้นเวลาที่กำหนดไว้ในมาตราก่อน ถ้ากำหนดไหนยาวกว่าท่านให้ใช้กำหนดนั้น

อย่างไรก็ตาม ความผิดอาญาฐานบุกรุกนั้นความผิดยังคงดำเนินอยู่ตลอด ยังถือว่าตราบใดที่นายแดงยังครอบครองที่ดินของนายดำโดยไม่สุจริตอยู่จึงยังถือว่านายแดงบุกรุกอยู่ตลอดเวลา อายุความยังไม่เริ่มนับเพราะถือว่าเป็นความผิดต่อเนื่องตลอดจนกว่านายแดงจะหยุดบุกรุกที่ดินของนายดำ คือออกจากที่ดินของนายดำไป

การที่นายแดงครอบครองที่ดินของนายดำอยู่จนถึงวันที่มายื่นคำร้องแม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามนายแดงยังบุกรุกอยู่จนวันยื่นคำร้อง

เมื่อมายื่นคำร้องในขณะที่ตนไม่สุจริตเพราะการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 โดยตลอดมา นายแดงย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

เรื่องนี้เปรียบเทียบได้กับความผิดฐานละเมิดในทางแพ่ง ซึ่งตราบใดที่ผู้กระทำความผิดฐานละเมิดยังคงกระทำความผิดต่อเนื่องไม่หยุด

จะเห็นว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะคุ้มครองผู้สุจริต ไม่มีทางที่กฎหมายจะสอนให้คนผิดศีลธรรม ไม่มีจริยธรรม แต่กลับสอนให้เป็นโจร ฯลฯ

ในทางกลับกัน ถ้านายดำได้บอกยกที่ดินให้กับนายแดงด้วยวาจาเท่านั้นโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าพนักงาน เมื่อนายแดงเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ และปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินดังกล่าว โดยสงบเปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี เป็นการกระทำโดยสุจริตนายแดงมายื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ต่อศาล นายแดงย่อมได้กรรมสิทธิ์เพราะนายแดงครอบครองทรัพย์โดยสุจริต

ซึ่งตรงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 2251/2538 ที่ว่า แม้การที่บิดาโจทก์ยกที่พิพาทให้โจทก์ โดยมิได้จดทะเบียนการให้ตามกฎหมายทำให้เป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทมานับตั้งแต่บิดาโจทก์ยกที่พิพาทให้โดยความสงบและเปิดเผยตัว ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งเป็นการวินิจฉัยสอดคล้องกับหลักศีลธรรมแล้ว

ปัจจุบันที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีเจ้าของและมีราคาแพง ไม่เหมือนกับเมื่อ 50-100 ปีก่อน ซึ่งสมัยก่อนนั้นที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีมากมายที่ไม่มีใครจับจองเป็นเจ้าของ กฎหมายจึงให้สิทธิผู้ที่ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมาฟรีๆ แต่ปัจจุบันนี้แตกต่างกับสมัยก่อนมากเพราะกว่าคนคนหนึ่งจะซื้อที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนนั้น ต้องใช้เงินมากมาย จึงไม่ควรให้บุคคลที่ไม่สุจริตและฉวยโอกาสในขณะที่เจ้าของเผอเรอกับทรัพย์ของตนเองแล้ว เข้าครอบครองบุกรุก อ้างครอบครองปรปักษ์เพื่อต้องการทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ถือเป็นการแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต มีพฤติกรรมที่ไม่มีจริยธรรม ผิดศีลธรรม จึงไม่ควรที่จะได้กรรมสิทธิ์ คนไทยเป็นผู้มีจริยธรรมจึงไม่ควรสนับสนุนบุคคลที่ไม่สุจริตมีพฤติกรรมผิดศีลธรรม

ดังเหตุผลที่กล่าวข้างต้นประกอบทั้งผู้ที่นำคดีไปสู่ศาลต้องมือสะอาด ซึ่งตามบัญญัติกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 เป็นบททั่วไป บัญญัติให้ผู้ที่มาศาลจึงต้องมือสะอาด (คือมีการทำการฟ้องหรือร้อง ที่มีมูลฐานมาจากการกระทำที่สุจริต)

ดังนั้น เกี่ยวกับเรื่องผู้ที่จะอ้างขอกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินผู้อื่นต่อศาล ต้องเป็นผู้ที่กระทำโดยสุจริตเท่านั้น ไม่ใช่การอ้างแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต เช่นบุกรุกฉ้อโกง ฯลฯ เป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยผิดศีลธรรม (นั้นคือมีมูลคดีจากความไม่สุจริต) ย่อมไม่ควรที่จะได้กรรมสิทธิ์

ฉะนั้นผู้อ้างว่าครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินของผู้อื่นต้องมาศาลด้วยมือสะอาดจึงจะได้ ถ้าผู้อ้างที่ร้องขอต่อศาลขาดความสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ศาลควรยกคำร้องหรือไม่รับรองสิทธิให้แก่ผู้ที่มาศาลด้วยมือไม่สะอาดนั้น

สำหรับในกรณีที่ศาลรับคำร้องแล้ว การส่งหมายสำเนาคำร้องให้เจ้าของหรือทายาทต้องให้ได้รับจริงๆ ไม่ควรประกาศหนังสือพิมพ์เด็ดขาด กับควรไต่สวนอย่างรอบคอบให้สิ้นสงสัยว่าที่ดินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้กระทำผิดจริยธรรมศีลธรรมมา ศาลต้องไปเดินเผชิญสืบที่ดินให้แน่ชัดว่ามีการกระทำประโยชน์ครอบครองจริงหรือไม่

บางรายขอมามากแต่เมื่อเผชิญสืบแล้ว เห็นได้ว่าควรได้ที่ดินเล็กน้อยเท่านั้นก็มี เพราะศาลต้องมีจิตวิญญาณที่ไม่สนับสนุนผู้กระทำผิดศีลธรรม ผิดจริยธรรม อันจะเป็นการชี้ทางสว่างเพื่อนำพาให้สังคมไทยเป็นสุข มีแต่สุจริตชน

ดังปัญหาการซื้อที่ดินของมูลนิธิวัดสวนแก้วที่เกิดขึ้นย่อมเป็นตัวอย่างแก่สังคมไทย พึงระมัดระวังในผลการกระทำของทุกๆ ฝ่าย สังคมไทยต้องพึ่งธรรมะเป็นใหญ่


Quick Reply Show Quick Reply
Users browsing this topic
Guest
Post Reply
Forum Jump  
You can post new topics in this forum.
You can reply to topics in this forum.
You cannot delete your posts in this forum.
You cannot edit your posts in this forum.
You cannot create polls in this forum.
You cannot vote in polls in this forum.

Powered by YAF | YAF © 2003-2024, Yet Another Forum.NET
This page was generated in 0.347 seconds.
ประกาศตามแนวรถไฟฟ้า
BTS รถไฟฟ้า BTS
MRT รถไฟฟ้า MRT

อสังหาฯใกล้รถไฟฟ้าล่าสุด

ประกาศยอดฮิต