Welcome Guest! To enable all features please try to register or login.
Post a reply
From:
Message:
Add Smiley

Loading...
Loading...


Maximum number of characters in each post is: 32767
Bold Italic Underline   Highlight Quote Choose Language for Syntax Highlighting Insert Image Create Link   Unordered List Ordered List   Left Justify Center Justify Right Justify   More BBCode Tags Check Spelling
Font Color: Font Size:
Security Image:
Enter The Letters From The Security Image:
  Preview Post Cancel

Last 10 Posts (In reverse order)
Guest Posted: Sunday, February 2, 2020 11:55:01 PM(UTC)
 

การทำงานเมื่อเราที่ยังอยู่ในวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาว เวลาแทบทั้งตลอดของเราในแต่ละวันก็จะต้องทำงานทำการกันนะครับ เพื่อให้เรานั้นมีเงินมีทองสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้ รวมถึงดูแลคนในครอบครัวได้นะครับ แต่ทีนี้เมื่อเราทำงานไปเรื่อยๆ เราก็ต้องถึงวัยที่ต้องหยุดหรือทำไม่ไหว หรือในช่วงเวลาทำงานอาจจะมีความจำเป็นต้องลาป่วย ประสบอุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาล เมื่อเกิดเหตุกรณีดังต่อไปนี้เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือเราจะมีเงินตรงไหนที่ทดแทนได้นะครับ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าในระบบงานนั้นเรามีส่วนช่วยเหลือตรงนี้ได้อย่างไร
ประกันสังคม เมื่อเราถูกเก็บไปนะครับ เงินจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินออมชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที ถือเป็นอีกหนึ่งเงินกองทุนสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่เป็นลูกจ้างนะครับ โดยมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่โดนเรียกเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมกันทุกเดือน รู้ไหมว่าเงินที่เราจ่ายไปนั้น ส่วนหนึ่งถูกกันไว้เป็นเงินออมเมื่อยามเกษียณ แล้วพวกเราเคยสงสัยกันไหมว่าสิทธิประกันสังคมส่วนนี้ เราจะได้รับเงินคืนเมื่อไหร่ มากน้อยแค่ไหน ถ้าลาออกจากงานไปแล้วจะได้ไหม เราลองมาดูกันดีกว่า
ผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้รับเงินสมทบชราภาพ หรือเงินออมชราภาพนะครับ จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยเงินออมชราภาพที่ได้รับนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ "เงินบำเหน็จ" ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว กับ "เงินบำนาญ" ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ
1. บำเหน็จชราภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น
- จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด
2. บำนาญชราภาพ : จ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ได้
เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีก็ตาม จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)
แต่ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 30 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 15 ปี) เท่ากับ 42.5%
เงินบำเหน็จ เงินบำนาญชราภาพ หรือเงินสมทบชราภาพนะครับ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การดำรงชีวิตหลังวัยทำงานนั้นเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นจริงๆ


Powered by YAF | YAF © 2003-2024, Yet Another Forum.NET
This page was generated in 0.198 seconds.
ประกาศตามแนวรถไฟฟ้า
BTS รถไฟฟ้า BTS
MRT รถไฟฟ้า MRT

อสังหาฯใกล้รถไฟฟ้าล่าสุด

ประกาศยอดฮิต